วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551

ความรู้สึกเกี่ยวกับวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ


ฉันมีความรู้สึกที่ดีมากที่ได้ไปเรียนวิชาเตรียมฝึกเพราะว่าการที่เรานั้นได้เรียนรู้วิชาเตรียมฝึกนั้นเราสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การฝึกจิตและออกกำลัง

การออกกำลังกาย กับการฝึกจิต ทำกรรมฐานมีอะไรหลายๆ อย่างที่คล้ายๆ กัน ยิ่งทำบ่อยๆ ยิ่งดี แต่.... ทำผิดวิธี ก็อาจมีโทษ ออกกำลังแล้ว สุขภาพร่างกายแข็งแรง...กายเป็นสุข ฝึกจิตแล้ว จิตแข็งแรง ไม่หลงใหลไปตาม โลภ โทสะ โมหะ.... จิตไม่เป็นทุกข์ (ทุกข์น้อย) แต่ ร่างกายแข็งแรงแล้วบางคนก็ยังสามารถเป็นโรคได้บ้าง คนไข้หลายๆ คนมักจะมาต่อว่า ว่าออกกำลังกายดีแล้ว..... สม่ำเสมอ........... ทำไมยังเป็นโรคหัวใจได้? คำตอบ คือว่า ถ้าท่านไม่ออกกำลังกายมาดีแล้ว ท่านคงเป็นโรคหัวใจรุนแรงกว่านี้เป็นเร็วกว่านี้และรักษายากกว่านี้!!! เหมือนกับคนที่ฝึกจิตแล้วจิตก็แข็งแรงขึ้น แต่ถ้ายังเป็นมนุษย์ ปุถุชนธรรมดา ก็คงยังต้องมี โรค ทาง จิต (บ้าง) มีโลภ มี โกรธ มีหลง (คือ ไม่รู้จะโลภ-อยากมี หรือโกรธ ไม่ได้ดี?) แต่คนที่ฝึกจิตแล้วจะอยากได้ อยากมี อยากเป็นน้อยลง ........... อารมณ์เสีย หงุดหงิด และโกรธยากขึ้น คนที่ฝึกจิตแล้ว จึงไม่ค่อยมี อิจฉา ริษยา อาฆาต พยาบาท คนที่ฝึกจิตแล้ว จะไม่ค่อยหลง รู้ตัว มีสติ มีสัมปชัญญะ รู้เท่าทัน อารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันตามที่เป็นจริง วิปัสนากรรมฐาน ซึ่ง เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้แล้วนำมาเผยแพร่สั่งสอน เราชาวพุทธ (คนศาสนาอื่นๆ ก็มีเรื่องนี้เช่นกัน) สอนให้คนเรามีสติ มีสมาธิ มีสัมปชัญญะ พิจารณาดูจิตได้ละเอียด เห็นเวทนา (สุข ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์) เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของทุกสิ่ง ทำให้คนมีจิตสงบ ไม่ใจร้อน ไม่เครียด คนเหงาก็หายเหงา คนเซ็งก็หายเซ็ง มีเมตตา มีกรุณามากขึ้น ความดันโลหิตลด ชีพจรเต้นสม่ำเสมอเรื่องจิตกับใจ (และกาย) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน จิต (ใจ) ดี- หัวใจ (กาย) แข็งแรง จิตใจ กับ หัวใจ มีความเกี่ยวข้องกันมาก ตัวอย่างเช่น หลังจากแผ่นดินไหว ในสหรัฐอเมริกาพบว่า มีคนไข้โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า อันนี้แสดงว่า ความเครียดเฉียบพลัน ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ นอกจากนี้ความเครียดเรื้อรัง ก็มีส่วนที่ทำให้เสี่ยงต่อโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ มีการศึกษาในคนไข้โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันว่า กว่าหมื่นคนจะมีภาวะเครียดมากกว่าปกติ ก่อนที่จะเกิดอาการของโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า ความก้าวร้าวเพิ่มโอกาสเกิดกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือดขึ้นร้อยละ 25 อาการซึมเศร้าก็เพิ่มอัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ถึง 2 เท่าของคนปกติ คนที่ซึมเศร้า-ทุกข์ เพราะไม่ได้ไม่มีหรือพลัดพรากจากของที่รัก หรือคนที่มีโทสะจริต โกรธ เกลียดคนง่าย เพราะได้ มีหรือพบกับ สิ่งที่ไม่รัก ไม่ต้องการ มีคำถามที่ว่า ทำไมปัญหาทางจิต จึงมีผลต่อหัวใจคนได้? หลายๆ งานวิจัย ทราบว่า ความผันผวนทางอารมณ์มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ได้ คนที่ซึมเศร้า โกรธเกลียดคนง่าย จะไม่สนใจเรื่องสุขภาพ ไม่ระวังเรื่องอาหาร ไม่ออกกำลังกาย นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่พอ บางคนสูบบุหรี่ เคยมีการศึกษาพบว่า คนที่ก้าวร้าว กินอาหารมากกว่าคนปกติถึง 600 แคลอรี่ต่อวัน